ผมกำลังอ่านหนังสือเรื่อง "ไอน์สไตน์ในพุทธปรัชญา" เขียนโดย "ธนู แก้วโอภาส" ซึ่งผมยืมมาจากอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือคนหนึ่ง ตอนแรกกะจะไปยืมเรื่อง "ยิว" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ แต่หนังสือเล่มนั้นมีคนยืมไปแล้ว อาจารย์จึงได้แนะนำหนังสือเล่มนี้ และยังกรุณาให้หนังสือเล่มอื่นๆมาอีก 3-4 หลายเล่ม ซึ่งผมยังไม่ได้อ่าน สำหรับเล่มนี้อ่านได้ครึ่งเล่มแล้ว มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางฟิสิกส์จากอดีตที่นักฟิสิกส์คนสำคัญๆ ของโลกได้ค้นคว้าเกี่ยวกับอะตอม, เอกภพ, ทฤษฎีสัมพันธภาพ, ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ และในหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงงานของสตีเฟ่น ฮอร์กิ้งด้วย ซึ่งผมได้อ่านไปแล้วเรื่อง (จำชื่อหนังสือไม่ได้ ... แย่จัง) คุณเฮนนิ่งก็อ่านด้วย แต่เป็นฉบับภาษาอังกฤษ น่าสนใจทีเดียว... หนังสือเล่มนั้นของสตีเฟ่น แปลโดยรอฮีม ปรามาท ทำให้ผมคุยกับคุณเฮนนิ่งรู้เรื่อง เพราะแกชอบพูดถึงควอนตัมฟิสิกเหลือเกินเวลาละเลียดเบียร์ลงคอตอนค่ำๆ...
ถึงแม้จะอ่านยังไม่จบ แต่ก็อยากนำข้อความที่อยู่ปกหลังมาแสดง เพราะอ่านแล้วเห็นว่าน่าสนใจ ดังนี้ครับ
"ไอน์สไตน์มองเห็นว่า ศาสนาพัฒนามาเป็น 3 ขั้นตอน โดยเริ่มแรก เป็นศาสนาของความกลัว ต่อมากลายเป็นศาสนาของศีลธรรม แต่ศาสนาทั้สองประเภทนี้ยังมีพระเจ้าอยู่ในความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ไอน์สไตน์มีความเห็นว่า ศาสนาที่พัฒนาก้าวหน้าสูงสุด เลยศาสนาทั้งสองประเภทนี้ไปแล้ว เป็นศาสนาไม่มีพระเจ้า มีกฎเกณฑ์ที่เป็นระเบียบ และเป็นศาสนาให้มนุษย์มีประสบการณ์ความจริงสูงสุดของเอกภพ ไอน์สไตน์เรียกศาสนาที่พัฒนามาถึงขั้นตอนสูงสุด หรือขั้นตอนที่ 3 เช่นนี้ว่า เป็นศาสนา มีความรู้สึกทางศาสนาสากลจักรวาล (Cosmic Religious Feeling) และกล่าวว่า ศาสนาพุทธมีความรู้สึกทางศาสนาเช่นนี้สูงมาก ความหมายของไอน์สไตน์ในพุทธปรัชญา คือความจริงที่พุทธศาสนาก้าวพ้นไปจากศาสนาเทวนิยม มาเป็นศาสนาของความมีเหตุผล และเป็นศาสนาปลดปล่อยให้มนุษย์เป็นอิสระจากความทุกข์
ธนู แก้วโอภาส"
No comments:
Post a Comment